Page 59 - File Ok2Magazine Military development362p78
P. 59

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นราชประเพณีคู่สังคมไทยมายาวนานโดยได้รับอิทธิพลจากคติอินเดีย แต่ลักษณะการ
            พระราชพิธีแต่เดิมมีแบบแผนรายละเอียดเป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้แต่การเรียกชื่อพิธีก็แตกต่างกันออกไป

            ในแต่ละสมัย เช่น ในสมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรียกว่า “พระราชพิธีราชาภิเษก” หรือ “พิธีราชาภิเษก”
            ส่วนในปัจจุบันเรียกว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก”
                    สมัยสุโขทัยปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๒ หรือจารึกวัดศรีชุม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษ
            ที่ ๑๘ กล่าวถึงการขึ้นเป็นผู้น�าของพ่อขุนบางกลางหาว ไว้ว่า “...พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวให้เมืองสุโขทัย

            ให้ทั้งชื่อตนแก่พระสหายเรียกชื่อศรีอิทรบดินทราทิตย์...” ส่วนในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาไทย และภาษาเขมรกล่าวถึง
            เครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพิธีบรมราชาภิเษกพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) ว่ามี มกุฎ พระขรรค์ชัยศรี และเศวตฉัตร
                    สมัยอยุธยาปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในค�าให้การของชาวกรุงเก่า ข้อความตอนหนึ่งกล่าว

            ถึงขั้นตอนของพระราชพิธีนี้ว่า
                    “...พระเจ้ำกรุงศรีอยุธยำจึงโปรดให้เอำไม้มะเดื่อนั้น  มำท�ำตั่งส�ำหรับประทับสรงพระกระยำสนำนในกำรมงคล
            เช่น พระรำชพิธีรำชำภิเษก เป็นต้น พระองค์ย่อมประทับเหนือพระที่นั่งตั่งไม้มะเดื่อ สรงพระกระยำสนำนก่อนแล้ว

            (จึงเสด็จไปประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ)  มุขอ�ำมำตย์ถวำยเครื่องเบญจรำชกกุธภัณฑ์  คือ  มหำมงกุฎ ๑  พระแสงขรรค์ ๑
            พัดวำลวิชนี ๑  ธำรพระกร ๑   ฉลองพระบำทคู่ ๑...”

                    การพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีหลักฐานปรากฏขั้นตอนล�าดับการพระราชพิธีชัดเจนในสมัยรัตนโกสินทร์
            แบ่งเป็น ๔ ขั้นตอน ได้แก่  กำรเตรียมพระรำชพิธี  พระรำชพิธีเบื้องต้น  พระรำชพิธีบรมรำชำภิเษก  และพระรำชพิธีเบื้องปลำย

            โดยขั้นตอนและรายละเอียดของการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามกาลสมัยมาจนถึงปัจจุบัน
            ซึ่งมีรายละเอียดโดยสังเขป ดังนี้

            การเตรียมพระราชพิธี
                    มีการท�าพิธีตักน�้าและที่ตั้งส�าหรับถวายเป็นน�้าอภิเษกและน�้าสรงพระมุรธาภิเษก จารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรม
            ราชสมภพ และแกะพระราชลัญจกร เตรียมตั้งเครื่องบรมราชาภิเษก และเตรียมสถานที่จัดพระราชพิธี

                    การเตรียมน�้าอภิเษกและน�้าสรงพระมุรธาภิเษก
                    ตามต�าราโบราณของพราหมณ์ น�้าอภิเษกจะต้องเป็นน�้าจาก “ปัญจมหานที” คือ แม่น�้าใหญ่ทั้ง ๕ สายในชมพูทวีป
            หรือในประเทศอินเดีย ได้แก่ แม่น�้าคงคา แม่น�้ามหิ แม่น�้ายมนา แม่น�้าอจิรวดี และแม่น�้าสรภู  ในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

            เชื่อว่าแม่น�้าทั้ง ๕ สายนี้ ไหลมาจากเขาไกรลาส ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร จึงถือว่าเป็นน�้าศักดิ์สิทธิ์ น�ามาใช้ในการพระ
            ราชพิธีต่าง ๆ เช่น น�้าสรงพระมุรธาภิเษก น�้าอภิเษก และน�้าพระพุทธมนต์
                    ในสมัยสุโขทัย - กรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการน�าน�้าปัญจมหานทีมาใช้ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

            แต่ปรากฏหลักฐานว่า น�้าสรงพระมุรธาภิเษกในสมัยอยุธยาใช้น�้าจากสระเกษ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา
            แขวงเมืองสุพรรณบุรี
                    ในสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๔ ใช้น�้าในแม่น�้าส�าคัญของประเทศไทย ๕ สาย เรียกว่า “เบญจ

            สุทธคงคา” โดยอนุโลมตามปัญจมหานทีในชมพูทวีป คือ แม่น�้าบางปะกง  แม่น�้าป่าสัก แม่น�้าเจ้าพระยา แม่น�้าราชบุรี และ
            แม่น�้าเพชรบุรี เมื่อตักแล้วจะตั้งพิธีเสก ณ เจดียสถานส�าคัญแห่งแขวงนั้น ๆ แล้วจึงจัดส่งเข้ามาท�าพิธีที่กรุงเทพมหานคร










            แม่น�้าบางปะกง            แม่น�้าป่าสัก            แม่น�้าเจ้าพระยา   แม่น�้าราชบุรี   แม่น�้าเพชรบุรี



                                                                                                  วารสาร 59
                                                                                              ทหารพัฒนา
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64