Page 61 - File Ok2Magazine Military development362p78
P. 61

พระราชพิธีเบื้องต้น
                    ประกอบด้วย การเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งน�้าวงด้าย จุดเทียนชัย
            และเจริญพระพุทธมนต์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

                    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
            ในเวลาเย็นทรงจุดเทียนนมัสการพระรัตนตรัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
            วันรุ่งขึ้นทรงถวายภัตตาหารเช้า เป็นเวลา ๓ วัน ต่อมาในการพระราช
            พิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

            บรมนาถบพิตร มีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนตามความเหมาะสม โดย
            ก่อนวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โปรดให้ประกอบพระราชพิธีใน
            เวลาเย็นวันเดียว คือ วันพฤหัสบดีที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓  อนึ่ง
            วันพฤหัสบดีที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. เจ้าพนักงาน

            พระอาลักษณ์เชิญพานพระสุพรรณบัฏ พร้อมด้วยดวงพระบรมราช
            สมภพ และพระราชลัญจกรประจ�ารัชกาล ออกจากพระอุโบสถ
            วัดพระศรีรัตนศาสดารามมาขึ้นพระราชยานกงที่เกยพลับพลาหลัง
                                                                             ขบวนพระราชอิสริยยศเชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ
            วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเข้าขบวนแห่อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ    และพระราชลัญจกรประจ�ารัชกาล จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
            พระแท่นมณฑลในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ                                ไปประดิษฐาน ณ พระแท่นมณฑล ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ
                                                                                    วันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓
            พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประกอบด้วย พิธีสรงพระมุรธา ภิเษก

            พิธีถวายน�้าอภิเษกจากผู้แทนทิศทั้ง ๘ ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพร
            ราชอาสน์ และพิธีถวายสิริราชสมบัติและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ณ
            พระที่นั่งภัทรบิฐ ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ

                    พิธีสรงพระมุรธาภิเษก

                    “มุรธาภิเษก” แปลว่า การรดน�้าที่พระเศียร น�้าที่รดเรียกว่า
            “น�้ามุรธาภิเษก” การสรงพระมุรธาภิเษก หมายถึงการยกให้ หรือ
            การแต่งตั้งโดยการท�าพิธีรดน�้า ซึ่งตามคติความเชื่อของพราหมณ์ถือว่า
            การยกให้ผู้ใดเป็นใหญ่ ทรงสิทธิ์อ�านาจนั้น จะต้องท�าด้วยพิธีรดน�้า
            ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งน�้าสรงพระมุรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

            ที่บรรจุในทุ้งสหัสธารานั้น เจือด้วยน�้าปัญจมหานทีในมัธยมประเทศ
            (อินเดีย) และน�้าเบญจสุทธคงคา แม่น�้าส�าคัญทั้งห้าของราชอาณาจักรไทย
            น�้าสี่สระ เจือด้วยน�้าอภิเษก ซึ่งท�าพิธีพลีกรรม ตักมาจากปูชนียสถาน  รัชกาลที่ ๙ ประทับ ณ มณฑปพระกระยาสนาม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
                                                                                       ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓
            ส�าคัญในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร และเจือด้วยน�้าพระพุทธปริตร
            ที่ได้ท�าพิธีเตรียมไว้
                    อนึ่ง ขณะทรงสรงพระมุรธาภิเษก พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา
            ชาวพนักงานประโคมสังข์ แตร มโหระทึก และเครื่องดุริยางค์ ทหารกอง
            เกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี

            ทหารปืนใหญ่ยิงปืนมหาฤกษ์มหาชัย มหาจักร มหาปราบยุค ๒๑ นัด
            เฉลิมพระเกียรติ
            ....โปรดติดตาม “ตอนที่ ๒” ในวาสารทหารพัฒนาฉบับต่อไป

            ที่มา                                                                สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับน�้าสรงพระมูรธาภิเษก
            - หนังสือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยกระทรวงวัฒนธรรม จัดพิมพ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐  จากสมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชิรญาณ
            - http://www.royin.go.th/dictionary/index.php
            - https://www.silpa-mag.com/history/article_๓๑9๔๕
                                                                                                  วารสาร 61
                                                                                              ทหารพัฒนา
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66